วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555





4| | |ธรรมะกับเสียงดนตรี | | |3


ทุกท่านชอบฟังเพลง หรือ ฟังเสียงดนตรีบรรเลงกันไหมครับ ? 
ทุกคนต่างก็รักและมีเสียงดนตรีในหัวใจกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะดนตรีแนวไหน ต่างก็มีเอกลักษณ์และสื่อความหมายต่างกันออกไป อย่างน้อยในบางอารมณ์ บางความรู้สึก ก็หลายท่านต้องมีอารมณ์สุนทรีย์กันบ้าง ใช่ไหมครับ ^_^

" ถ้าคนใดไม่มีเสียงดนตรีในหัวใจ คนนั้นย่อมพิลึกนัก " 



และดนตรีกับพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกันไหม ? อย่างไร ? เหตุนี้มีคำถามเกิดขึ้นในใจกระผม ยามที่บรรเลงดนตรีอยู่ยามพักผ่อน กระผมจึงได้ศึกษาและมาบอกเล่าสู่กันฟังนะครับ


ดนตรีกับพุทธศาสนาในพุทธประวัติก็มีหลายตอนที่มาเกี่ยวข้อง เมื่อตอนที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญทุกรกิริยา จนร่างกายซูบผอมแห้งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ก็ทรงรำพึงคิดอยู่ ว่าพระองค์ควรจะทำอย่างไรต่อไป ก็มีเทวดามาดีดพิณให้ฟัง ดีดเส้นตึงไป เสียงก็ไม่ไพเราะ หย่อนไปก็ไม่ไพเราะ ถ้าตั้งพอดีๆ ก็ดีดไปมีเสียงไพเราะกังวาลเสนาะโสต ก็พลันคิดขึ้นมาได้ว่า พระองค์ควรดำเนินทางสายกลางจึงจะสำเร็จมรรคผลได้ จึงทรงหันมาบำรุงร่างกาย ให้มีพระกำลังวังชา แล้วปฏิบัติต่อไป จนสำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด.....


ดนตรีก็มีจังหวะจะโคน มีกรอบให้บรรเลง ธรรมะ ก็มีแนวทางให้ปฏิบัติ คือ ศีล-สมาธิ-ปัญญา/ทาน-ศีล-ภาวนา มีทางสายเอก-หนทางสายเดียวที่เป็นหนทางเดินที่ลัดสั้น ปลอดภัยในการปฏิบัติ คือ มหาสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ กาย-เวทนา-จิต-ธรรม.....ส่วนการที่นักดนตรีจะเล่น ออกลวดลาย ออกลูกเล่นอย่างไร.....หรือผู้สอนธรรม จะสอนอย่างไร วิธีใด ออกลูกเล่นแพรวพรายอย่างไร ก็สามารถทำได้ แต่ก็อยู่ในกรอบเส้นทางแห่งมรรควิถี-อริยสัจ-ปฏิจจสมุปบาท-ไตรลักษณ์เป็นหลักใหญ่ แล้วแต่ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญของผู้เล่น ผู้สอนแต่ละท่าน แต่ละองค์.....

ในหลวงของพวกเราคนไทย ซึ่งท่านทรงเป็นยอดอัจฉริยะทางดนตรีหลายๆแขนงทั้งครื่องเป่า และอื่นๆ ทั้งทรงเล่นเอง แต่งเอง เรียบเรียงเสียงประสานเอง ไปถึงระดับโลก ทรงสามารถเล่นกับนักดนตรีเอกๆของโลกได้สบายๆเท่าเทียมกับนักดนตรีอาชีพระดับโลก อันเป็นที่ยอมรับและยกย่องดังทราบกันดีอยู่ พระองค์ทรงกล่าวว่า พระองค์ไม่ได้เล่นด้วยตัวโน๊ต แต่ทรงเล่นด้วยใจ ใช้ใจเล่น.....จึงทำได้เป็นธรรมชาติสามารถเล่นกับวงบิ๊กแบนด์ระดับชั้นนำของโลกได้หลายๆชั่วโมง เป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วโลก......ถ้าจะเปรียบกับการใช้วรยุทธกำลังภายในของจีน ก็เข้าทำนอง "กระบี่อยู่ที่ใจ" ฉันนั้น






เสียงเพลงเกี่ยวข้องกับธรรมะอย่างไร?
เราจะทำอย่างไร จึงเอาเสียงเพลงมาให้เป็นประโยชน์ด้านการเจริญสมถะและวิปัสสนากรรมฐานได้?
ความจริงแล้ว เสียงเพลงก็ดี เสียงขับประโคมดนตรีก็ดี การดูมหรสพก็ดี ย่อมเป็นปัจจัยให้เข้าถึง" โมกขธรรม"ได้โดยง่าย ถ้าเราดูเป็น คิดเป็น และพิจารณาเป็น!!!

ดังนั้น ดนตรี เสียงเพลง จึงเป็นสื่ออย่างหนึ่ง ที่ทำให้เราเข้าใจในเนื้อหาของดนตรีนั้นได้ลึกซึ้งมากขึ้น และเกิดจินตนาการ คล้อยตาม ถึงแม้เสียงดนตรีนั้นจะไม่มีภาษาหรือผู้ขับร้องเลยก็ตาม

ถ้าเรารู้จักใช้สมาธิในการ ฟัง คิด เข้าถึง ความหมายของดนตรีนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันในการบรรยายธรรมจึงมีรูปแบบของเสียงเพลง ดนตรี เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในอีกรูปแบบหนึ่งนั่นเอง.



By Kunawut.